วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ชมบรรยากาศเมืองนครพนม ก่อนถึงงานประเพณีไหลเรือไฟ ประจำปี 2553


งานประเพณีไหลเรือไฟจังหวัดนครพนม ประจำปี พ.ศ 2553

เริ่ม วันที่ 16  - 24 ตุลาคม พ.ศ 2553


ป้ายผ้ายาง " งานไหลเรือไฟประจำปี 2553 "  ที่ข้างศาลากลางจังหวัดนครพนม
สวยงามอลังการ สมกับเป็นงานระดับชาติ จริง ๆ  
บอกได้ว่างานระดับชาติ ปีนี้ได้ลดตัวลง เสมอกับงานท้องถิ่นและงานกาชาดไปแล้ว


บนท้องถนนในเขตเทศบาล  จะเห็นป้ายโฆษณางานไหลเรือไฟอยู่ทั่วไป


งานประเพณีไหลเรือไฟ จะเริ่มในวันที่ 16 - 24 ตุลาคม 2553




การแข่งขันเรือยาว ระหว่าง 20 - 22 ตุลาคม 2553





ป้ายเล็กๆแบบนี้  ใช้งานได้ดีมาก


ป้ายโฆษณานักการเมือง เทียบข้างกับป้ายโฆษณางานไหลเรือไฟ
ที่หอสมุดฯ  ที่ดูดีกว่า ป้ายที่ศาลากลางจังหวัด







ป้ายนี้อยู่ข้างศาลากลางจังหวัดนครพนม  สังเกตุว่าป้ายงานไหลเรือไฟ
ดูไม่เด่นเท่าป้ายโฆษณาของนักการเมือง




เทศบาลเมืองนครพนม หนึ่งในเจ้าภาพการจัดงานประเพณีไหลเรือไฟ
ประจำปี พ.ศ  2553


คุณนิวัติ  เจียวิริยบุญญา  นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองนครพนม คนปัจจุบัน


" นายกตุ๊ " นักการเมืองท้องถิ่น คนรุ่นใหม่และคลื่นลูกใหม่ของเมืองนครพนม


คุณนิวัติ เจียวิริยบุญญา  ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมงานไหลเรือไฟปีนี้


งานไหลเรือไฟปีนี้  จะตื่นเต้นประทับใจกว่าปีก่อนยังไง ก็ต้องคอยชมฝีมือของท่านล่ะ



นายกฯ นิวัติ ให้สัมภาษณ์ถึง เส้นทางชีวิต และความคิดที่จะทำเพื่อบ้านเมือง


นายวัฒนศักดิ์ เจียวิริยบุญญา รองนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองนครพนม



คุณวัฒนศักดิ์ ให้สัมภาษณ์ถึงรายละเอียดของงานเรือแข่ง


คุณวัฒนศักดิ์ เป็นน้องชายแท้ๆของท่านนายกฯ " ตุ๊ "


นักการเมืองท้องถิ่นหน้าใหม่  ที่มีพื้นฐานการเป็นพ่อพิมพ์มาก่อน


หน้าห้องท่านนายกฯ  ที่สดใส


คือ  ความสดใส  ที่หน้าห้องท่านนายกฯ




ป้ายผ้านี้อยู่ที่หน้าสำนักงานเทศบาลเมืองนครพนม หนึ่งในเจ้าภาพของงาน



ป้ายโฆษณางานไหลเรือไฟขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ได้พบเจอปีนี้
อยู่ที่หน้าสำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดนครพนม



ป้ายสีเหลืองเล็กๆแผ่นนี้  ช่วยรักษาหน้าตาของคนเมืองนครพนมได้ดีทีเดียว




ที่ด้านขวามือของถนนสุนทรวิจิตร  จะเป็นพื้นที่สำคัญของการจัดงานประเพณีไหลเรือไฟ


บริเวณนี้ เรียกว่า " ลานตะวันเบิกฟ้า " ตามการตั้งชื่อของเทศบาลเมืองนครพนม


พื้นที่บริเวณนี้  นับเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของจังหวัดนครพนม
ด้วยความเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำ ( Waterfront )


บรรยากาศของเมืองที่อยู่ติดริมน้ำ " แม่น้ำโขง "   ณ บริเวณนี้ สุดจะบรรยาย
ปัจจุบันได้กลายเป็น  สถานที่ ที่นักท่องเที่ยวต้องมาแวะชมและต้องถ่ายภาพ
ตลอดจนเป็นพื้นที่ใช้ทำกิจกรรมที่หลากหลายและที่พักผ่อนหย่อนคลายของชาวนครพนม


กำแพงคอนกรีตที่เห็นอยู่ข้างหน้านี้  เขาเรียกว่า " เขื่อนหน้าเมืองนครพนม "
สร้างตามบัญชาของจอมพลสฤษดิ์ ธนรัตน์ อดีตนายกรัฐมนตรี ในสมัยนั้น
ด้วยเหตุผลเพื่อ ป้องกันชายตลิ่งถูกแม่น้ำโขงกัดเซาะ    เมื่อปี พ.ศ 2503


การออกแบบเขื่อนกั้นตลิ่งพังแห่งนี้  มีความแข็งแรงและก้าวหน้าทางด้านวิศวกรรมมาก
เพราะใช้วิธี ตอกเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กยาว 15 เมตร เรียงเป็นกำแพงชนิดเข็มต่อเข็ม
ที่สำคัญก็คือ  มีแนวกำแพงกันตลิ่งพังถึง 3 ชั้น  และมีบันใด( ที่ออกแบบล้ำยุค ) เชื่อมกันทั้ง 3 ชั้น
เป็นที่น่าเสียดายที่  แนวกำแพงชั้นล่างทั้ง 2 ได้ถูกดินโคลนจากแม่น้ำถมทับจนมองไม่เห็นไปแล้ว
จึงกล่าวได้ว่า   เป็นเขื่อนกั้นตลิ่งที่ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กแห่งแรกของประเทศไทย


ส่วนอัฒจันทร์ ที่เห็นนี้  เทศบาลเมืองฯได้ก่อสร้างต่อเติมให้เป็นที่นั่งชมวิวแม่น้ำโขง
โดยเฉพาะ  การนั่งชมขบวน " การไหลเรือไฟ " ในยามค่ำคืนวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือนตุลา
ถึงแม้จะเป็นการกระทบในเรื่องประวัติศาสตร์บ้าง  แต่ก็มีเหตุผลเพียงพอที่จะรับได้


ชายตลิ่งที่เห็นข้างหน้า เคยเป็นกำแพงคอนกรีตกั้นตลิ่งถึง 2 ชั้น


ภาพเก่า ถ่ายเมื่อ ปี 2504  เห็นปั้นจั่นกำลังเคลื่อนตัวไปบนรางเหล็กเพื่อตอกเข็มคอนกรีต


ภาพเก่า ถ่ายเมื่อ ปี 2502  ท่าน้ำของ ( น้ำโขง )  ด้านตรงข้ามกับบ้านพักผู้พิพากษา
เป็นท่าน้ำยอดนิยม  ที่ชาวเมืองนครพนมในเขตเทศบาลฯ ใช้เป็นที่อาบน้ำ ซักผ้า
เพราะในเวลานั้น  นครพนมยังไม่มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้
ภาพที่เห็นชินตาในยามเย็น ก็คือ ผู้ใหญ่หิ้วถังน้ำมือถือขัน จูงลูกหลานพากันไปอาบน้ำที่ท่าน้ำแห่งนี้
ส่วนเรือนแพที่เห็น  ก็เป็นเรือนพักของชาวเวียตนามอพยพ  ที่เข้ามาประเทศไทยในช่วง
ป้อมเดียนเบียนฟูแตก  หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 
และได้ขึ้นบกขึ้นฝั่งหมดราว 1 ปี ก่อนจะมีการก่อสร้างเขื่อนหน้าเมืองนครพนม


ลานตะวันเบิกฟ้า  นับว่า  เป็นสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของงานประเพณีไหลเรือไฟ
เพราะเป็นพื้นที่จัดงาน " พาแลง " เพื่อชม " ประเพณีการไหลเรือไฟ " โดยเฉพาะ






มีเวทีแสดงศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นในจังหวัดนครพนม
ที่ได้รับการสนับสนุนจากสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม
ในช่วงเทศกาลออกพรรษาและไหลเรือไฟ ของทุกๆปี


การแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เวทีแห่งนี้  หาดูชมยาก
สำหรับนักท่องเที่ยวและผู้ที่ชื่นชมในศิลปวัฒนธรรมไม่ควรพลาด


บริเวณนี้เป็นจุดที่จะชมการไหลเรือไฟ ได้ดีที่สุดของเมือง


เพราะช่วงนี้ห่างจากจุดปล่อยเรือไฟประมาณ 1 กิโลเมตร
ทำให้เรือไฟมีความสมบูรณ์ของดวงไฟที่สุด


ความสวยงามสว่างไสวของดวงไฟที่เรือไฟ  จะสมบูรณ์ไม่เกิน 50 นาที


นอกจากนี้ในยามเย็นปรกติ  ลานตะวันเบิกฟ้าจะใช้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย


" ลานตะวันเบิกฟ้า " ลานสาธารณะ ที่สวยที่สุดของจังหวัดนครพนม


ใช้ทำกิจกรรมเต้นแอโรบิค  ของสมาชิกแอโรบิค


สมาชิกแอโรบิคกลุ่มนี้  ล้วนแล้วแต่เป็นหญิงสตรีสูงวัย ที่สนใจเรื่องสุขภาพและมีเวลา



การอยู่ดีกินดีมากไป  ก็เกิดอาการ " เข้าแล้ว  แต่ออกไม่หมด " จึงต้องมาใช้วิธีออกกำลังรีดออก


ตั้งใจแล้ว  จะสดใสแข็งแรง  ส่วนจะประทับใจคนที่บ้านหรือเปล่า เป็นอีกเรื่อง


ปีนี้  ทางเทศบาลได้ทุบรั้วคอนกรีตกันตกออกบางส่วน
  เพื่อให้ผู้นั่งทานอาหารในงานเลี้ยง " พาแลง " ได้ชมเรือไฟอย่างถนัดตา
ถึงจะติดขัดในความรู้สึกอยู่บ้าง  แต่ก็เป็นความคิดที่พอรับได้
เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง  เทศบาลก็เดินหน้ามาขนาดนี้แล้ว
ไหนๆก็ไหนๆ  ถ้าอยากต่อเติมเสริมแต่งอีกสักนิด  ก็จะเป็นไรไป 


 ข้อดีคือ ทำให้ลานตะวันเบิกฟ้า กว้างขึ้นมาถนัดใจ  ไม่มีอุปสรรคในเรื่องมุมมอง
จะนั่งพักผ่อน  เพื่อชื่นชมวิวทิวทัศน์อันสวยงามของแม่น้ำโขง  หรือ เรือไฟ  ก็ดี ครับ





เช้าวันที่ 15 ตุลาคม ได้พบการริดก้านตัดกิ่งไม้ของเทศบาลเมืองนครพนม
เมื่อถามผู้ควบคุม  ก้ได้รับคำตอบว่า  หัวหน้าสั่งให้ตัด เพราะไปบังเวทีการแสดง อ้าวว 
ต้นไม้ใหญ่เก่าแก่ ไม่ใช่ผักหญ้าที่เทศบาลปลูกเอง  มันตัดกันง่าย อย่างนั้น รึ





ความจริงต้นหางนกยูง ที่อยู่แถวนี้ ก็ถูกรังแกจนแทบจะโกร๋นอยู่แล้ว
ลำต้นก็ไม่ได้ใหญ่โต  กิ่งก้านใบไม้ก็ไม่ได้ร่มครึ้มนักหนาอะไร 
 ที่สำคัญความสูงของพุ่มไม้กิ่งไม้ ก็เกินระดับสายตาของมนุษย์อยู่แล้ว
ถามว่า  แล้วพุ่มไม้กิ่งไม้ที่สูงกว่า 6 เมตรนี่  มันบังอะไร  ?



หากมีเมฆลอยมาบดบังดวงจันทร์วันเพ็ญ  ในคืนวันไหลเรือไฟ แล้วเราจะทำยังไง ล่ะน๊อ


หน้าที่ประจำปีของเทศบาลฯ คือ  การทำความสะอาดตามแนวตลิ่งริมแม่น้ำโขง
ก่อนถึงเทศกาลออกพรรษาและงานประเพณีไหลเรือไฟ


ก่อนงาน  จะมีรถตัก รถตีนตะขาบ ออกมาเก็บกวาดพุ่มไม้รกเรื้อและกองขยะตามชายตลิ่ง


เพียง 2 วัน  ชายตลิ่งริมโขงก็สวยสะอาดตาขึ้นมาทันใด









ก็เป็นภาระกิจที่สำคัญอันหนึ่งของทางเทศบาลเมืองนครพนม
ในฐานะเจ้าภาพการจัดงานประเพณีไหลเรือไฟ 


ป้ายผ้างานไหลเรือไฟ ฯ ที่ได้รับการสนับสนุนจากเอกชน






อ๋อ บริเวณริมน้ำตรงนี้  มีการทำเรือไฟ ของหลายหน่วยงาน




บริเวณท่าน้ำด้านนี้มีพื้นที่ชายตลิ่งกว้างที่สุด และไม่ลาดชันมาก
จึงมักใช้เป็นสถานที่ประกอบสร้างเรือไฟของหน่วยงานราชการ


ใช้ไม้ไผ่มัดกันเป็นทุ่นเรือไฟ


เรือไฟแต่ละลำ  ต้องใช้ไม้ไผ่นับร้อยลำ











เช้าวันนี้  แดดค่อนข้างจะแรงสักหน่อย  คนงานต้องพึ่งหมวกกันทุกคน


ยางรถจักรยานยนต์เก่า ก็มีประโยชน์ในงานนี้


ร่มก็เป็นสิ่งที่จำเป็น


















เรือไฟของอำเภอท่าอุเทน ใหญ่โตมาก




เรือไฟของอำเภอเมืองนครพนม


เรือไฟของม.รามคำแหง





ใกล้ๆกันนี้  ก็พบต้นไทรใหญ่ยักษ์อายุนับร้อยปี



ลำต้นขยายใหญ่กินที่ถนน  ไปเรื่อย ๆ ๆ ๆ


ต้นไทร นี้เป็น อเมซิ่ง หนึ่งของนครพนม


ใต้ต้นไทร เป็นที่สะเดาะห์เคราะห์ แก้บนของผู้คน


มีที่ไหนบ้าง  ในประเทศไทย









ย่านนี้มีร้านขายปิ้งไก่ส้มตำอร่อยๆอยู่หลายร้าน



ที่เห็นอยู่ข้างหน้า คือ สองร้านปิ้งไก่ส้มตำ  ที่ขึ้นชื่อ


















ดูความใหญ่โตของเรือไฟ






โครงเรือไฟของอำเภอโพนสวรรค์


สถานที่ทำงานของอำเภอโพนสวรรค์  มีแต่ป้าย ส่วนทีมงานจะมาสัปดาห์หน้า




โบสถ์คาทอลิคหนองแสง  สวยงามมลังมเลืองในยามเย็น


ถนนหน้าโบสถ์สะอาดสวยงาม เพราะเพิ่งลาดยางมะตอยทับหน้าเดิม


ท่าน้ำริมโขงหน้าโบสถ์คาทอลิคหนองแสง  เป็นสถานที่ทำเรือไฟ
ของอำเภอโพนสวรรค์  และอำเภอนาทม


โชคดีมีร่มเงาให้พึ่งพาอาศัยได้  ในยามแดดจ้า




ทีมงานอำเภอนาทมกำลังขมักขเม้นกับการประกอบโครงเรือไฟ


คณะทีมงานเรือไฟของอำเภอนาทม  ล้วนแล้วเป็นอาสาสมัครจากหลาย อบต. 
ที่ตั้งใจทำงานเพื่อชื่อเสียงของชาวอำเภอนาทม


เต๊นท์ที่พักของทีมงานทำเรือไฟของอำเภอนาทม


ประชาชนจากทุกเขต อบต. ในอำเภอนาทมออกมาช่วยกันทำเรือไฟ 
 นี่คือ ตัวอย่างของความรักในท้องถิ่น ความสามัคคีกลมเกลียว  
ที่เป็นสิ่งหายากในบ้านเมืองของเรา ทุกวันนี้




ภายในเต๊นท์ที่พัก  ก็คือ ครัว






สุดถนนสุนทรวิจิตร  เลยสามแยกหนองแสงมาอีกสักหน่อย
ที่ริมเขื่อนตรงข้ามกับที่ราชพัสดุ ( โรงต้มเก่า ) เป็นสถานที่ทำเรือไฟของ
อำเภอบ้านแพงและอำเภอศรีสงคราม ( ในตอนนี้ยังไม่ได้ดำเนินการ )


มีเพลงสนุกๆขับกล่อมให้กำลังใจแก่ผู้ทำงาน  อันนี้เป็นความคิดที่ดี




เต๊นท์ที่พักของช่างคนงานทำเรือไฟอำเภอบ้านแพง


สำนักงานชั่วคราวของทีมงานทำเรือไฟอำเภอบ้านแพง




แฟ้มภาพเก่า " งานไหลเรือไฟ ปี 2552 "