วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ภาพความคืบหน้า ของการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 นครพนม - คำม่วน


แฟ้มภาพเก่าของงานก่อสร้างสะพาน เมื่อปี 2552

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี และ ฯพณฯ บุญยัง วอระจิต รองประธานประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว  เป็นประธานร่วมในพิธีวางศิลาฤกษ์
การก่อสร้างสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 3 จังหวัดนครพนม
เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ 2552

สถานที่ก่อสร้างสะพาน เลือกเอาที่ บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม
ด้วยเหตุผลที่ว่า  ตำแหน่งนี้ เป็นช่วงที่แม่น้ำโขง  มีความกว้างน้อยที่สุด
มีมูลค่าการก่อสร้างทั้งสิ้น 1,885 ล้านบาท
หลังพิธีวางศิลาฤกษ์จบสิ้น  งานก่อสร้างก็ได้เริ่มขึ้น













แฟ้มภาพในช่วงเดือนมกราคม ปี 2553
งานก่อสร้างตัวสะพานฯ

ตัวสะพาน ณ จุดตัดที่ กม. 8 ถนนหมายเลข 212 สายนครพนม - ท่าอุเทน
ตัวสะพานเป็นคอนกรีตอัดแรง มีความยาว 780 เมตร  กว้าง 13 เมตร
มี 2 ช่องจราจร  มีจุดทางลาดขึ้นสะพาน ความยาวด้านละ 120 เมตร
แผ่นพื้นสะพานเป็นคอนกรีตหล่อสำเร็จแบบอัดแรง





การก่อสร้างตอม่อสะพาน 4 ต้น  ที่ช่วงกลางสะพานเหนือผิวน้ำ แบ่งเป็น 3 ช่วง
มีช่วงกว้างระหว่างตอม่อยาว 180 เมตร

ตัวคอสะพานยกเหนือระดับถนนหมายเลข 212 สายนครพนม - ท่าอุเทน


แฟ้มภาพวันนี้ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ปี 2553
งานก่อสร้างตัวสะพานฯ
ตัวสะพานคล่อมเหนือถนนหมายเลข 212 ถนนสาย นครพนม - ท่าอุเทน
ใครๆที่ผ่านจุดนี้  มีความรู้สึกคล้ายกันว่า  เอ๊ะ ท้องสะพานต่ำไปหน่อย มั๊ย ?






สำนักงานโครงการก่อสร้างสะพานฯ

วันนี้ ปูพื้นสะพานสำเร็จแล้ว



การก่อสร้างตัวสะพานวันนี้  มาถึงริมฝั่งแม่น้ำโขงแล้ว
การติดตั้งกล่องคานคอนกรีตอัดแรงที่ตอม่อสะพาน









มุมมองการก่อสร้างสะพานจากทางริมฝั่งบ้านห้อม
มีกระชังปลามากมาย ที่ริมฝั่งโขงบ้านห้อม

ดูไกลๆเหมือนเสาตอม่อกำลังจะจมน้ำ

อ๋อ ช่วงเดือนนี้เป็นหน้าน้ำขึ้น  จีงเห็นเสาตอม่อสูงจากผิวน้ำไม่มาก





มองเห็นตัวเมืองนครพนม  แต่ไกลๆ

แฟ้มภาพวันก่อน เมื่อ 15 มกราคม ปี 2553
งานก่อสร้างทางขึ้นสะพานและงานอาคารด่านศุลกากรฯ























































แฟ้มภาพวันนี้ เมื่อ 15 สิงหาคม 2553
งานก่อสร้างทางขึ้นสะพานและอาคารด่านศุลกากรฯ






ทางขึ้นสะพาน แยกจากถนนหมายเลข 212  เป็นทางลาดยาวประมาณ 120 เมตร





ไหล่ทางในส่วนของทางลาดขึ้นสะพานปลูกหญ้าทับหน้าไว้

ปลูกหญ้าตลอดไหล่ถนนทางลาดขึ้นสะพาน

ด้านหลังบริเวณทางขึ้นสะพาน

ไม่เท่าไหร่  แตกร้าวแล้ว

ถนนด้านหลังบริเวณทางขึ้นสะพาน

บริเวณด่านศุลกากร  ยกระดับสูงจากถนนด้านหลังพอสมควร

มีร่องระบายน้ำด้วย

พื้นที่โดยรอบอาณาบริเวณของทางขึ้นสะพานและด่านศุลกากรญแห่งนี้
จะไม่ได้อานิสงค์อะไรจากการอยู่ใกล้สะพานฯนี้เลย  

มองเห็นอาคารด่านศุลกากรแต่ไกล









อาคารเจ้าปัญหา อันเกิดเป็น " Design controversial "
เมื่อพบว่าได้นำเอา  องค์พระธาตุพนมมาตกแต่งเป็น " ปลียอด " หลังคา
ซึ่ง สถาปนิกผู้ออกแบบ  ได้ให้ความสำคัญของพระธาตุพนมเป็นเพียงแค่ ตราสัญญลักษณ์ของจังหวัดนครพนม  
และถือเป็นการแสดงออกถึงความเคารพยกย่องเชิดชูไว้สูงสุด  ถือว่าเป็นสิ่งมงคลกับด่านพรมแดนและเป็นขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ปฎิบัติหน้าที่  ทำนองเดียวกับเสาเชิงสะพาน  เปรียบเสมือนประตูเมืองในอดีตที่ต้องการบอกกับผู้มาเยือน
สถาปนิก ผู้นี้เข้าใจภาษาไทย ถูกต้องหรือเปล่า
ยกย่อง  ความหมายคือ  เชิดชู
และ เชิดชู  ความหมายก็คือ  ยกย่อง , ชมเชย
พระธาตุพนม เป็นสิ่งเคารพสูงสุด อันควรแก่การกราบไหว้สักการะ ไม่ใช่เพื่อการยกย่องชมเชย



เจตนาการนำสิ่งเคารพ  มาใช้ประกอบตกแต่งในงานสถาปัตยกรรม  เพื่อความสวยงาม  มากกว่าการเคารพบูชา เช่น การนำพระธาตุพนมมาสถิตที่ยอดหลังคาอาคารด่านศุลกากรฯแห่งนี้  ถือเป็นการไม่เหมาะสม ไม่บังควร
มันเป็นเรื่องเสียสติสิ้นดี  ถ้าจะมีผู้คิดเอา  พระปรางค์วัดอรุณ  พระธาตุดอยสุเทพ  พระบรมธาตุไชยยา พุทธสถานอื่นๆ หรือ เจ้าแม่กวนอิม มาประดับบนยอดหลังคา ของศาลากลางจังหวัด ศาลจังหวัด สนามบิน ท่าเรือ หรือ คฤหาสน์มหาเศรษฐี
อีกทั้งการออกแบบหลังคา  ให้มีลักษณะเป็น " เรือนยอด " หรือ " กุฎาคาร "  ก็ถือเป็นความรู้เท่าไม่ถึงการในเรื่อง " ฐานันดรศักดิ์ หรือ ฐานานุศักดิ์ " ของสถาปัตยกรรมไทย ที่มีระเบียบแบบแผนและรูปแบบชัดเจน
ในเรื่องนี้  ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องเหมาะสม  ก็ต้องเรียกร้องให้สมาคมสถาปนิกสยามออกมาดูแลต่อไป


















พวกเราชาวนครพนม  ต้องออกมาจับตาดูว่า  กรมทางหลวงเขาจะจัดการยังไงต่อไป















ดูไกลๆเหมือนเป็นอาคารเล็กๆ  แต่เมื่อได้เข้าไปอยู่ภายในอาคารแล้วจะรู้สึก ถึงความใหญ่โตมาก

บริเวณนี้ยังไม่ก้าวหน้าเท่าไหร่



ถ้าโครงการแล้วเสร็จ  ผู้ที่จะเดินทางออกไปเที่ยวเมืองลาว ก็จะเห็นภาพนี้เสมอๆ
ก่อนจะออกนอกราชอาณาจักรไทย

แล้วพบกันใหม่อีก  ในต้นปีหน้านะครับ  สวัสดี