วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

60 นาที เลาะเลียบ " หนองญาติ " มรดกจากธรรมชาติ ให้เป็นสมบัติใช้ร่วมกันของชาวนครพนม

                          

หนองญาติ เป็นชื่อของหนองน้ำสาธารณประโยชน์ขนาดใหญ่
มีวิวทิวทัศน์และสภาพแวดล้อมที่สวยงาม เคยเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
และที่พักผ่อนหย่อนใจระดับยอดนิยม ของชาวเมืองนครพนมมาก่อน
ด้วยการละเลยทำนุบำรุงของชลประทาน จึงมีสภาพตื้นเขินรกเรื้อ
ถึงกระนั้น  หนองญาติ  ก็ยังคงความสวยงามตามธรรมชาติที่เคยมี
 ปัจจุบัน หนองญาติ  ตั้งอยู่ที่บ้านหนองญาติ  ตำบลหนองญาติ
อยู่ห่างจากอำเภอเมืองนครพนม 7 กม
   ตามภูมิประวัติเป็นหนองน้ำที่เกิดตามธรรมชาติ
ในอดีต  ชาวบ้านมักมีปัญหาน้ำหนองท่วมบ้านเรือนในหน้าฝน
กรมชลประทานจึงมาทำระบบระบายน้ำให้หนองญาติ
 และเรียกหนองญาติว่า " อ่างเก็บน้ำ " ตั้งแต่ปี 2496

   ภาพถ่ายทางอากาศของหนองญาติ ปี พ.ศ 2550
(พื้นที่ของหนองญาติ ตามข้อมูลของกรมธนารักษ์มี 2,500 ไร่)


ดู หนองญาติ ต.หนองญาติ อ.เมือง จ.นครพนม ในแผนที่ขนาดใหญ่







ภาพถ่ายทางอากาศของหนองญาติ ปี พ.ศ 2516
พื้นที่ของหนองญาติ ตามหนังสือสำคัญฯ มี 3,280 ไร่
แต่หลักฐานของกรมชลประทาน เมื่อปี 2496 ระบุ 4,950 ไร่
แสดงว่า  พื้นที่ชายตลิ่งของหนองญาติมีการรุกล้ำเรื่อยมา


ภาพถ่ายทางอากาศของหนองญาติ ปี พ.ศ 2537
แสดง สภาพความตื้นเขินของหนองญาติที่ขาดการบำรุงดูแล
แล้วผู้ขอใช้งานมาตลอด 44 ปี คือ กรมชลประทาน  ก็สมควรโดนตำหนิ

ประมวลภาพของหนองญาติ 

หนองน้ำสาธารณะที่ใหญ่ที่สุด ที่สวยที่สุดของจังหวัดนครพนม

สภาพของหนองญาติในวันนี้  ช่างต่างจากในอดีตที่เคยเห็นแผ่นน้ำใหญ่เวิ้งว้าง

มุมมองในจุดนี้  สวยมากและบอกได้ว่า  หนองญาติ มีขนาดใหญ่โตแค่ไหน

มุมนี้ก็สวย

มุมนี้ก็สวยแบบธรรมชาติ

สุมทุมพุ่มไม้ที่เห็นตรงหน้านี้  ไม่ใช่เกาะกลางหนอง  หากแต่เป็นดินดอน
ที่เกิดจากสภาพตื้นเขินตามธรรมชาติ  ขาดการขุดลอก และสะสมมานมนาน
ตามป.แพ่งฯ มาตรา 1309  ถือเป็นสมบัติของแผ่นดิน


มุมมองหนองญาติ ในทิศตะวันออก  จะเห็นเทือกเขาที่ฝั่งประเทศลาวได้
ที่เนินดินกลางน้ำ จะเห็นเคริ่องมือจักรกลกำลังทำงาน ในโครงการไทยเข้มแข็ง
ของนายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน ที่มีวัตถุประสงค์จะทำการ
ขุดลอกหนองญาติ  และป้องกันอุทกภัยให้หนองญาติ
ซึ่งทุกวันนี้  ยังติดค้างสังคมกับคำถามที่ว่า
" ขุดลอกหนองญาติ " เพิ่ออะไร  ?
" การป้องกันอุทกภัย " ที่ฟังแล้วก็ดูดีนี่  วิธีการป้องกันนั้น ทำอย่างไร  ?




สภาพที่เห็นอย่างนี้  นึกไม่ออกว่า  นี่มันเป็นการพัฒนา หรือ การทำลายหนองญาติ
อะไรจะเกิดขึ้นกับหนองญาติ   ศาลปกครองช่วยตอบที

โอ มายก็อด  นี่หรือ หนองญาติ



ความกว้างขวางใหญ่โตของหนองญาติ  ในมุมมองจากบ้านหนองบัว


กว้างขวางสุดลูกหูลูกตาจริงๆ และที่สองข้างถนน  เดิมเป็นหนองน้ำทั้งนั้น

ข้างหน้าที่เห็น  ก็เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อที่หนองญาติ  ที่มีการยึดครองไปทำนา

ความต่างระดับของถนนกับที่ดิน  คงนึกสภาพเดิมได้ว่า เคยเป็นที่น้ำท่วมถึง

สภาพแวดล้อมของหนองญาติ  จะเห็นแนวต้นไม้ใหญ่อยู่รายรอบ

หนองญาติ ในมุมมองนี้  ถือว่าสวยที่สุด

ทางเข้าหนองญาติ  สามารถมาได้หลายทาง เช่น เข้าทางบ้านหนองญาติ
บ้านดอนโมง  บ้านนาจอก  บ้านหนองบัว และบ้านดงโชค

ที่เห็นข้างหน้า คือ  ที่ว่าการอำเภอเมืองนครพนม แห่งใหม่ สร้างปี 2542
ปฐมเหตุ ของการบุกรุกทำลายสภาพแวดล้อมของหนองญาติ
และกำลังจะเป็น " มหากาพย์แห่งการประพฤติมิชอบ " ของจังหวัดนครพนม

สภาพความตื้นเขิน จะเห็นทั่วไปในหนองญาติ  ที่ชลประทานเรียกว่า อ่างเก็บน้ำ

มีใครบอกได้ใหมว่า  นี่คือ หนองน้ำธรรมชาติ  หรือ  อ่างเก็บน้ำ

มีการใช้เงินงบประมาณ มากมายหลายโครงการลงบนชายตลิ่งหนองญาติ



ที่ชายตลิ่ง  ที่เห็นนี้  ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ 
มาตรา 1304  เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน 
ไม่ใช่ที่ราชพัสดุ

หนองญาติ  ในมุมมองนี้  ดูสวยร่มรื่นดี


มุมนี้ดูคล้ายกับหนองน้ำในชนบทที่ห่างไกล  ไม่ใช่หนองน้ำใจกลางขุมชนใหญ่เลย




ดินที่ขุดลอกมาถมตลิ่งหนองญาติเป็นดินดีมีฮิวมัสสูง  สังเกตุที่สีดินมันดำ







มุมนี้ดูๆไปก็มีส่วนคล้ายกับชายทะเลพัทยา

มีโครงการก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากมาย บนที่ชายตลิ่งหนองญาติ

นี่เป็น หนองญาติในทิศตะวันตก  ติดกับถนนสาย นครพนม - นาแก

สิ่งก่อสร้างที่เห็นข้างหน้า  เป็นผลงานของเทศบาลเมืองนครพนม
เมื่อ 48 ปีก่อน  สองล้นเกล้าเคยเสด็จมาประทับแรม ณ พื้นที่ตรงนี้
เคยเห็นกับตาตัวเอง  ถึงเต็นต์สีขาวนับสิบๆเรียงรายรอบชายขอบหนองญาติ
แต่อะไรก็ไม่สำคัญเท่ากับ  การก่อสร้างอาคารที่ชายตลิ่ง นั้นไม่ใช่ที่ราชพัสดุ
แต่ " ที่ชายตลิ่ง " เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน

บ้านหนองญาติ  ตำบลหนองญาติ  เดิมมีการปกครองท้องที่เป็นระดับ อบต.
ปัจจุบัน ยกระดับเป็นเทศบาลตำบลหนองญาติ แล้ว

ถามประชาชนที่อยู่อาศัยรอบหนองญาติว่า  เคยเกิดน้ำท่วมหนองญาติบ้างใหม
คำตอบก็คือ  ไม่เคยมีสักครั้ง  แล้วโครงการป้องกันอุทกภัย มันทำไปทำไม ฮึ

โครงการขุดลอกหนองญาติ  ที่กรมธนารักษ์ อ้างว่าเป็น " ที่ราชพัสดุ " แล้วนั้น
ก็สมควรที่ " สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน " และ " สำนักงบประมาณ "
จะต้องมาดูว่า  การขุดลอกดินมาถมที่นั้น  ได้ขออนุญาต กรมธนารักษ์ หรือ ผู้ว่าฯ 
ถูกต้องตามกฎกระทรวงการคลังว่าด้วย วิธีปกครอง ดูแล รักษาฯ หรือไม่
 ขุดลอกแล้ว หนองญาติ มีน้ำมากขึ้น หรือ น้อยลง
และดินที่ขุดลอกแล้ว  เอาไปไหน  ใครได้ประโยชน์
เพราะการขุดลอกดินในที่น้ำท่วมถึง  จะต้องขออนุญาตฯ


ปากทางออก เชื่อมกับถนนสายนครพนม - นาแก

ความร่มรื่นยังเห็นได้ทั่วไป

สนามที่เห็นข้างหน้านั้น  ในอดีตก็คือ  ผืนน้ำหนองญาติ

ถนนรอบหนองญาติ







หน่วยงานการขุดลอกเอาดินไปถมและเตรียมการป้องกันน้ำท่วมหนองญาติ

ใช้งบ " ไทยเข้มแข็ง " 29 ล้านบาท สำหรับงานหมูๆ ขุดๆ ถมๆ แบบนี้ น่าจะแพง
แต่มันน่าแปลกใจ ก็ตรงที่มีชื่อ อธิบดีกรมชลประทาน มาเกี่ยวข้องด้วย นะสิ
ทั้งๆที่กรมชลฯ  ได้โอนหนองญาติให้ อบต.หนองญาติไปดูแลตั้งแต่ปี 2540 แล้ว
 ที่สำคัญ มันควรจะเป็นโครงการของหน่วยงานปกครองท้องถิ่นมากกว่า
หรือว่า  มีรายการ  " คุณขอมา " คนแถวนี้ถึงได้กินแห้ว


รถขุด เป็นของกรมชลประทาน





รถขนดินเป็นของ เอกชน






มาถมดินให้ใคร ?  ที่อยู่ใกล้สนามกีฬา ฯ  ฮึ











ถัดมาก็เป็น สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เฉลิมพระชนม์พรรษา 80 พรรษา
โครงการนี้  ก็ดูดีนะ ทั้งวัตถุประสงค์และการออกแบบ
ถ้าไม่ติดใจในเรื่องที่  บริเวณนี้ อบต.หนองญาติ เคยเลือกเป็นที่ก่อสร้างที่ทำการใหม่
และ ที่สำคัญ  ถ้าตรงนี้ ไม่ใช่ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน


ถัดมาจากสวนเทิดพระเกียรติฯ ก็มาถึง ที่ว่าการอำเภอเมืองนครพนม แห่งใหม่


สังเกตุว่า  สถานที่นี้เสมือนตั้งอยู่กลางทุ่งนา  ที่แสนจะเปล่าเปลี่ยวเดียวดาย


ไร้เพื่อนบ้าน หรือ สถานที่ใกล้เคียง

สามแยกไปนาจอก - หนองบัว - ถนนรอบหนองญาติ

ถนนไปบ้านนาจอก และเข้าเมือง  ดูบรรยากาศ 2 ข้างทางแล้ว
โอ้ โฮ ช่างเปล่าเปลี่ยว  วิเวกโหวเหว วังเวงใจเหลือเกิน

ข้างหน้านี่  เขาว่าเป็นสนามกีฬาฯ

เห็นชายขอบหนองญาติ สุดลูกหู ลูกตา

ทางแยกไปบ้านหนองบัว

ตรงไปก็เป็นถนนรอบหนองญาติ

ข้างหน้าคือ สถานที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอเมืองนครพนม แห่งใหม่  ตั้งอยู่นอกเมือง
ต้นเหตุ ความวิบัติสภาพแวดล้อมของ หนองญาติ  ในทุกวันนี้
อะไรก็ไม่สำคัญเท่ากับ  ตำแหน่งนี้ เมื่อดูจากภาพถ่ายทางอากาศแล้ว
จะตั้งอยู่กลางหนองน้ำ " หนองญาติ " เลยเชียว
การเข้ามาใช้  ก็อาศัยหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ นพ 0038 เพียงอย่างเดียว
ซึ่งขณะนี้  ศาลปกครองขอนแก่นกำลังพิจารณาการเพิกถอนเอกสารฉบับนี้อยู่

ภาพนี่ ต่อไปจะเป็นฉากหลังของการต่อสู้ระหว่าง  นิติรัฐ กับ ข้าราชการในท้องที่
ใคร จะอยู่ ใครจะไป ก็คงอีกไม่นาน  เพราะเรื่องนี้ " รัฐเป็นผู้เสียหาย "
และ ที่สำคัญ  ประชาชนชาวนครพนม  เดือดร้อนมาก

โปรดสังเกตุป้าย " ที่ว่าการอำเภอเมืองนครพนม " ตั้งอยู่กลางสนาม  ไม่ใช่ที่รั้ว

ใหม่ สวย น่าทำงาน  แต่จะนานแค่ไหน ไม่มีใครทราบชะตากรรมของ สถานที่แห่งนี้

อาคารใหม่ กลางหนองน้ำที่สงบเงียบ  แต่เสียงความถูกต้องมันดังก้องทั้งที่ทำการ
ถามว่าเสียงนั้น  มาจากไหน  ก็มาจากอาดารเก่า  ที่ถนนอภิบาลบัญชา ไงล่ะ
รวมทั้งเสียงชาวบ้านชาวเมือง  ยังไม่รวมเสียงค้อน ที่ศาลปกครองขอนแก่น

ประมวลภาพอำเภอเมืองนครพนม หลังเก่า






ที่ประชาชนชาวนครพนมคุ้นเคย  และได้รับความสะดวกที่สุด

อดีต ที่ว่าการอำเภอเมืองนครพนม สร้างเมื่อ ปี 2512
เลิกใช้งานโดยนายอำเภอเมืองในสมัยนั้น  โดยอ้างว่าเก่าแก่ ทรุดโทรม
แต่กลับโอนไปให้หน่วยงานอื่นใช้งาน  ท่ามกลางการคัดต้านของมหาดไทย


ดูภาพต่อไปนี้  เพื่อฟื้นความทรงจำในอดีต
ก็อาจเป็นไปได้  ที่ทุกๆคนจะได้กลับมาใช้สถานที่นี้อีกครั้งหนึ่ง  ใครจะรู้







หอประชุมแห่งนี้เคยใช้งานของ หน่วยราชการ และบริการพ่อค้าประชาชนมากว่า 30 ปี



ความคิดเห็นของประชาชน เรื่องการย้ายอำเภอเมืองนครพนม



















































หมดเวลา  60 นาทีแล้ว  แต่ยังมีเรื่องเกี่ยวกับหนองญาติ  ที่อยากจะเล่าให้ฟังอีก

รวมทั้งเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนอีกมากมาย เกี่ยวกับอำเภอเมือง ฯนี้

ซึ่งเราจะได้ทะยอยนำมาเสนออีกต่อไป

สำหรับวันนี้  สวัสดี ครับ