วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

" สวนชมโขง " สวนที่เป็นมากกว่าสวน



สวนสาธารณะใหม่ อายุราว 6 - 7 ปี ที่ชื่อว่า " สวนชมโขง " นี้
ตั้งอยู่เลขที่ 149 ถนนอภิบาลบัญชา ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม
อยู่ฝั่งตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัดนครพนม
บริเวณที่ว่านี้ เดิมเป็นเรือนจำจังหวัดนครพนม ที่ก่อสร้างมาแต่ปี พ.ศ 2447
ได้ปิดการใช้งานเพราะความเก่าแก่แออัดไปในปี พ.ศ 2543 แล้ว สิริรวม 86 ปี
และได้ย้ายไปอยู่ที่เรือนจำแห่งใหม่ ที่ใหญ่โต หรุหรากว่าเดิม
ที่เลขที่ 300 ถนนชยางกูร
บ้านกุดข้าวปุ้น ตำบลขามเฒ่า อ.เมืองนครพนม
ซึ่งเปิดใช้ในชื่อใหม่ว่า " เรือนจำกลางนครพนม " ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ 2543












การกำเนิดของสวนสาธารณะที่ชื่อ " สวนชมโขง " นี้
ต้องแลกกับการทำลายอาคารเก่า อายุเกือบ 100 ปี
ถึงจะเป็น คุกเก่า ก็เถอะ
ทำให้นึกถึง เรือนจำเก่าอันแสนจะโด่งดังแห่งหนึ่ง ที่สหรัฐอเมริกา
เรือนจำที่ว่านี้ชื่อ " อัลคาทราซ " ตั้งอยู่บนเกาะอัลคาทราซ
นอกชายฝั่งเมืองซานฟรานซิสโก มลรัฐคาลิฟอร์เนีย
เรือนจำ หรือ คุก ที่เกาะอัลคาทราซ เมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา นี้
เคยขึ้นชื่อว่า เป็นคุกที่โหด และ มีระบบป้องกันการหลบหนีที่เข้มแข็งมากที่สุด
เดิมเป็นค่ายทหารสร้างในปี 1850 ใช้เป็นคุกในปี 1933 ปิดคุกในปี 1963
ได้ปรับปรุงให้เป็นสวนสาธารณะแห่งชาติ ในปี 1972 ด้วยเงิน 30 กว่าล้านบาท
และกลายเป็นสถานท่องเที่ยวที่สำคัญ 1 ใน 4 แห่งของซานฟรานซิสโก ในเวลาต่อมา

มีนักท่องเที่ยวท่องเรือเข้าชม เฉลี่ยวันละ 5300 คน หรือ ประมาณเกือบ 2 ล้านคนต่อปี
มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวกว่า 500 แห่ง สร้างงานที่มั่นคงให้กับคน 25,000 คน
การซื้อบริการเรือท่องเที่ยวเพื่อเข้าชมเกาะนี้ ผู้ใหญ่ จ่าย 72 เหรียญ( ราว 2400 บาท)
และเด็กต้องจ่ายคนละ 43 เหรียญ (ราวๆ 1400 บาท )
คิดเป็นรายได้กระจายในท้องถิ่น ประมาณ 3 หมื่นกว่าล้านบาทต่อปี
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเกิดใหม่ มีอายุเพียง 200 กว่าปี
ฉะนั้นคนของเขาถึงชอบอนุรักษ์และหวงแหนของเก่า ทุกชนิด
เพราะถือเป็นสมบัติของชาติ ไม่ใช่ของผู้หนึ่งผู้ใด
จะเห็นว่า ภายในคุกอัลคาทราซนี้ ยังมีสภาพที่ดีเยี่ยม
เพราะเขาจะบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพเดิมทุกอย่าง
ทั้งภายนอกและภายใน
จะไม่ทุบทำลาย ของเก่าแบบโง่ๆ เหมือนประเทศด้อยพัฒนา อื่นๆ
จึงฝากถึง ผู้ที่มีโอกาสได้ไปดูงานต่างประเทศ จะเป็นนักการเมือง หรือ ข้าราชการก็ดี
นอกจากจะโชคดีได้เห็นและจดจำสิ่งที่ดีๆ
อันเป็นความเจริญก้าวหน้าในบ้านเมืองของเขาแล้ว
ก็อย่าลืม ถามด้วยว่า พวกเขากินข้าวกับอะไร ทำไมถึงฉลาดนัก
และเมื่อกลับมาแล้ว ก็อย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังด้วย ล่ะ
ซากกำแพงเรือนจำบางส่วน ที่รอดจากการทุบทำลาย เหลือทิ้งให้ดูต่างหน้า
ทั้งที่โครงสร้างของเรือนจำ ส่วนใหญ่ยังมีสภาพดี น่าจะใช้ประโยชน์ได้อีก
การทุบทิ้งของเก่าแล้วสร้างใหม่ ทำให้งาน " สวนชมโขง " นี้
ด้อยคุณค่า ในแง่ศิลปะและประวัติศาสตร์
นี่จึง มิใช่การบูรณะ แต่มันคือ การพัฒนาที่มากับการทำลาย
จะด้วยความขาดวิสัยทัศน์ หรือ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็ตามแต่
เรือนจำนครพนม ก็ได้ลาลับจากเรา ไปชั่วนิจนิรันดร แล้ว


ในอดีต ด้านหน้าเรือนจำนครพนมนี้
จะเห็นเป็นกำแพงสีขาวยาวตลอดแนวถนน

อ่างน้ำพุ เป็นของสวยต้องห้ามในวงการออกแบบของสถาปนิก
เพราะต้องใช้พลังงานมาก ได้ประโยชน์ไม่คุ้มเสีย
เว้นแต่ว่าโครงการนั้นจะสำคัญมากจริงๆ
หรือ เจ้าของงานจะรวยจริงๆ

ประติมากรรม เปรต 7 ตน ( ตามที่คนเขาว่า )
หรือ ชน 7 เผ่า นี้ ไม่ทราบว่า เขาคิดได้ไง ?
เพราะจะมองในแง่มุมใหน ก็คิดหาคำชมเชยไม่ได้เลย

เพียงแค่ชื่อ " ชมโขง " นี่ก็ชวนฉงนว่า
แล้วมันเกี่ยวอะไรกับแม่น้ำโขง มั่งวะ ????

อ๋อ เขาก็ช่างคิด สร้างอ่างน้ำอยู่ข้างหน้า
แล้วให้สมมติว่า นี่ไง แม่น้ำโขง
ชมโขง หรือ ชมสระ ก็น่าจะอนุโลมได้นะ
ว่าแต่ คนที่เขายังคันใจ คาใจ อยู่นี่ สิ
อีกกี่ชาติ เขาถึงจะทำใจยอมรับได้
เฮ้อ กู ล่ะ อุกใจ หลายเด้อ พี่น้อง เอ๊ย

เห็นสภาพการเปลี่ยนแปลงของเรือนจำ ในครั้งนี้แล้ว
รู้สึกใจมันหดหู่ และเศร้าใจอย่างไร บอกไม่ถูก

พูดถึงเรื่องในคุก คงไม่มีใครจะเล่าได้ดีกว่า คนที่เคยอยู่

คุก เป็นสถานที่เดียวที่ไม่มีใครอยากจะคิดถึง

เรื่องราวในคุก ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องน่าสพึงกลัว

ความจริง คุก ก็มีมุมสวยทั้งภายนอกและภายใน

เรือนจำ แห่งนี้ คงจะให้บทเรียนแก่ผู้ที่เคยหลงผิดมา นับหมื่นๆคนแล้ว

ถ้าไร้ซึ่ง คุก แล้ว ความสงบสุข จริยธรรมและศีลธรรมในสังคม จะเป็นยังไง


ลาก่อน เรือนจำนครพนม
ชาตะ 2447
มรณะ 2543


ได้เวลาเข้าชม " สวนชมโขง " ซะที

อดีต บริเวณส่วนนี้เคยเป็นประตูทางเข้าเรือนจำนครพนม
ปัจจุบันเป็น " ศูนย์แพทย์ชุมชน เทศบาลเมืองนครพนม
และโรงพยาบาลนครพนม สาขา 1 "

โถงด้านหน้า

ศูนย์นี้ บริการคนไข้ในเขตอำเภอเมืองเท่านั้น

บรรยากาศในบริเวณส่วนนี้ดูอบอุ่นและสดใสมาก

การมาใช้บริการที่นี่ อย่าลืมนำบัตรประชาชนมาด้วย

คุณพี่ธิติมา ศรีประดิษฐ์ คุณพี่พรทิพย์ แสงชูโต และคุณพี่นวัชราพร วัฒนวิโรจน์
3 พยาบาลวิชาชีพ ที่แจ่มใสและใจดี

มีการซักถามประวัติคนไข้ หลังการทำบัตรเสร็จแล้ว

ตรวจความดันทุกครั้ง
การเก็บข้อมูล

โต๊ะนี้ยิ้มแย้มแจ่มใสดี

ต้องไปติดต่อที่ห้องบัตร ก่อนจะพบพยาบาลและแพทย์

" ยื่นบัตรก่อน นะคะ " พี่วัยยะรักษ์ เจริญขันธ์ เจ้าหน้าที่ห้องบัตร ผู้อารมณ์ดีบอก
เภสัชกร อภินันท์ ฉายจรูญ และ พี่บุญทัน แสนเมือง ที่ห้องจ่ายยา
เจ้าหน้าที่ห้องจ่ายยาที่นี่ จะสลับหมุนเวียนเปลี่ยนเวรกัน
และมักได้รับคำชมเสมอว่า มีความกระตือรือล้นในการให้บริการ

คุณหมอวิจัย เสนะสุทธิพันธุ์ กำลังตรวจคนไข้

สั่งจ่ายยาด้วยระบบคอมพิวเตอร์



คุณหมอวิจัย จะอยู่เวรที่นี่สลับกันกับคุณหมอคนอื่นอีกหลายท่าน

การบริการแบบโรงพยาบาล ในบรรยากาศของคลีนิก

ที่นี่พยาบาลอารมณ์ดีทุกคน

คุณพี่พรทิพย์ แสงชูโต พยาบาลวิชาชีพ

สถานที่สะอาดเป็นระเบียบ

นี่เป็นเวลาพักเที่ยง

ศูนย์สุขภาพชุมชน เทศบาลเมืองนครพนม หรือ
ศูนย์แพทย์ชุมชนเทศบาลเมืองนครพนม ก็ป้ายอันเดียวกัน
เพียงแต่ว่าจะเลือกอ่าน ที่ด้านหน้า หรือ ด้านหลังป้าย
โดยมีข้อเท็จจริงที่ว่า สถานที่เป็นของเทศบาลเมืองนครพนม
แต่ระบบการบริการเป็นของโรงพยาบาลนครพนม

ข้างหน้านั่น คือ พิพิธภัณฑ์เรือนจำนครพนม
ถนนภายในเส้นนี้ที่เชื่อมอดีตกับปัจจุบัน

ยังมีสำนักงานอื่นๆในพื้นที่ของสวนชมโขงนี้ด้วย

สภาทนายความจังหวัดนครพนม
ภายในสำนักงาน จะมีทนายความ 1 คนหมุนเวียนกันทำหน้าที่ให้บริการประชาชน
และเจ้าหน้าที่ อยู่ประจำ 1 คน

พี่ณรงค์ ไชยตา รองประธานสภาทนายความนครพนม
ก็ทำหน้าที่ทนายความให้คำปรึกษาแก่ประชาชนทั่วไปด้วย

นอกจากการให้คำปรึกษาปัญหาคดีความฟรีแล้ว
ยังแนะนำทนายความให้ด้วย แต่ค่าใช้จ่ายต้องตกลงกันเอง


    พี่ณรงค์ เคยทำงานเป็นนายช่างเทศบาลมาก่อน  แต่วันนี้เป็นทนายความคอยบริการประชาชน



พี่ณรงค์ ไชยตา กำลังให้สัมภาษณ์






สำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครพนม กระทรวงยุติธรรม






ภายในสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครพนม เวลาพักเที่ยงพอดี
บริเวณโถงด้านหน้าของ สำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครพนม

อ่างน้ำพุ งานตกแต่งทางสถาปัตยกรรมที่ฟุ่มเฟือยและไม่จำเป็น

การออกแบบที่ว่างและองค์ประกอบ ใช้ประโยชน์ได้น้อย











เรือนนอน กับ สวนสวย หรือ นรก กับ สวรรค์
สวน จัดรกไปหน่อย แต่ก็ดูเพลินตาดี




ส่วนแท่นปูนนี้ คาดเดาว่า น่าจะเป็นเตาของเรือนจำ

สนามเด็กเล่น

สนามกีฬานี้ คนจะเยอะในตอนเย็น



ลานสุขภาพ

หอคอย และ ลานสุขภาพ

หอคอยนี้ คงโชคดีที่รอดจากการทุบทำลายได้ ในคราวที่ปรับปรุงเรือนจำ

เครื่องออกกำลังกลางแจ้ง พอรู้ราคาแต่ละชิ้น แล้ว ต้องร้อง โอ้ โฮ้




สนามกีฬาสวนชมโขง


เพิ่งใช้งานมาไม่นาน ก็เห็นความทรุดโทรมปรากฎเป็นหย่อมๆแล้ว

เวทีเอนกประสงค์



มุมนี้ดูดีที่สุด

มุมสวย

มุมสวย

มุมสวย

มุมสวย

มุมนี้สวยและใช้ประโยชน์ได้

ถนนเส้นนี้สวย มีองค์ประกอบสมบูรณ์ดี

ศาลานี้ เป็นจุดนำสายตาที่ดีมาก

การจัดสวนมุมนี้ดี

ถ้าไม่ทราบประวัติมาก่อน ก็คงคิดว่าอาคารที่เห็นเป็น คฤหาสน์หรู

อาคารเรือนนอน ของเรือนจำเก่า ปัจจุบันจัดเป็นพิพิธภัณฑ์

ตัวอาคาร มีสภาพใกล้เคียงของเดิม
ด้านหน้าของพิพิธภัณฑ์

ประตูทางเข้าพิพิธภัณฑ์เรือนจำนครพนม เปิดรอการเข้าชมของประชาชนในปัจจุบัน
แต่ในอดีต คงไม่มีใครคิดฝันอยากจะเข้ามาในอาคารแห่งนี้เป็นอันขาด
แปลกนิดนึง ตรงที่ เหลียวหาดูป้ายของอาคารนี้ยังไม่เจอเลย



คลิป ชมภายในพิพิธภัณฑ์เรือนจำนครพนม
ทำได้เกือบใกล้เคียงพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทูส์โซ



มุมด้านนี้ทำเป็นห้องเอ็กซ์เรย์

ภายในโถงทางเดินของเรือนนอน ( ห้องขังรวม ) มีห้องขังผู้ต้องโทษ 5 ห้องใหญ่ๆ
ห้องแต่ละห้อง บางวันเคยจุผู้ต้องขังถึง 60 คน ซึ่งนับว่าแออัดมาก

บรรยากาศภายในเรือนนอน มีลูกกรงเหล็กแบ่งกั้นเป็น 4 ห้อง

ที่เห็นข้างหน้า คือ หุ่นปูนปั้น ขนาดเท่าจริง

ในสภาวะแสงที่มีจำกัด ประกอบความเงียบสงบ ให้บรรยากาศที่ชวนขนลุกดี

ห้องขังนี้ มีพิเศษกว่าห้องอื่น

โต๊ะไม้ขนาดยาวนี้ ใช้เป็นที่นอนของผู่ต้องขัง
เว็จถ่ายอุจจาระ ที่มุมห้อง

ห้องขังชั้นในสุด จะมีแสงจากช่องหน้าต่างมากกว่าห้องอื่น

การจัดแสดง ทำได้ดีใกล้เคียงของจริงมาก

ขึ้นชื่อว่า การจัดฉาก อะไรๆก็ดูไม่น่ากลัว

นี่คือการจัดแสดงด้วยหุ่นเพียง 9 ตัว บรรยากาศก็ดู โอเค
แต่ถ้าลองนึกถึงคนจำนวน 50 - 60 คนแล้วละก็
ยังคิดไม่ออกเลยว่า พวกเขาจะได้นั่งหลับ หรือ ยืนหลับ กันแน่

เหมือนจริงมาก

ภาพที่มองผ่านลูกกรง คงให้ความรู้สึกถึง " ห้องขังนักโทษ " ได้เป็นอย่างดี

ห้องขังนี้ สำรองไว้จัดนิทรรศการ

ห้องแสดงภาพถ่าย

พอออกมาข้างนอก รู้สึกความโปร่งโล่ง ก็เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน




ลาก่อน เรือนจำนครพนม ( ในอดีต )

บรรยากาศที่สงบร่มรื่น เป็นเอกลักษณ์ของสวนแห่งนี้

รายละเอียดทางสถาปัตยกรรม ที่ผู้ออกแบบคิดเอาเองว่า นี่คือ คำตอบ

รายนามคณะทำงานโครงการสวนชมโขง ที่เราจะได้จดจำไปอีกนาน