วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ภาพความคืบหน้า ของการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 นครพนม - คำม่วน


แฟ้มภาพเก่าของงานก่อสร้างสะพาน เมื่อปี 2552

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี และ ฯพณฯ บุญยัง วอระจิต รองประธานประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว  เป็นประธานร่วมในพิธีวางศิลาฤกษ์
การก่อสร้างสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 3 จังหวัดนครพนม
เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ 2552

สถานที่ก่อสร้างสะพาน เลือกเอาที่ บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม
ด้วยเหตุผลที่ว่า  ตำแหน่งนี้ เป็นช่วงที่แม่น้ำโขง  มีความกว้างน้อยที่สุด
มีมูลค่าการก่อสร้างทั้งสิ้น 1,885 ล้านบาท
หลังพิธีวางศิลาฤกษ์จบสิ้น  งานก่อสร้างก็ได้เริ่มขึ้น













แฟ้มภาพในช่วงเดือนมกราคม ปี 2553
งานก่อสร้างตัวสะพานฯ

ตัวสะพาน ณ จุดตัดที่ กม. 8 ถนนหมายเลข 212 สายนครพนม - ท่าอุเทน
ตัวสะพานเป็นคอนกรีตอัดแรง มีความยาว 780 เมตร  กว้าง 13 เมตร
มี 2 ช่องจราจร  มีจุดทางลาดขึ้นสะพาน ความยาวด้านละ 120 เมตร
แผ่นพื้นสะพานเป็นคอนกรีตหล่อสำเร็จแบบอัดแรง





การก่อสร้างตอม่อสะพาน 4 ต้น  ที่ช่วงกลางสะพานเหนือผิวน้ำ แบ่งเป็น 3 ช่วง
มีช่วงกว้างระหว่างตอม่อยาว 180 เมตร

ตัวคอสะพานยกเหนือระดับถนนหมายเลข 212 สายนครพนม - ท่าอุเทน


แฟ้มภาพวันนี้ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ปี 2553
งานก่อสร้างตัวสะพานฯ
ตัวสะพานคล่อมเหนือถนนหมายเลข 212 ถนนสาย นครพนม - ท่าอุเทน
ใครๆที่ผ่านจุดนี้  มีความรู้สึกคล้ายกันว่า  เอ๊ะ ท้องสะพานต่ำไปหน่อย มั๊ย ?






สำนักงานโครงการก่อสร้างสะพานฯ

วันนี้ ปูพื้นสะพานสำเร็จแล้ว



การก่อสร้างตัวสะพานวันนี้  มาถึงริมฝั่งแม่น้ำโขงแล้ว
การติดตั้งกล่องคานคอนกรีตอัดแรงที่ตอม่อสะพาน









มุมมองการก่อสร้างสะพานจากทางริมฝั่งบ้านห้อม
มีกระชังปลามากมาย ที่ริมฝั่งโขงบ้านห้อม

ดูไกลๆเหมือนเสาตอม่อกำลังจะจมน้ำ

อ๋อ ช่วงเดือนนี้เป็นหน้าน้ำขึ้น  จีงเห็นเสาตอม่อสูงจากผิวน้ำไม่มาก





มองเห็นตัวเมืองนครพนม  แต่ไกลๆ

แฟ้มภาพวันก่อน เมื่อ 15 มกราคม ปี 2553
งานก่อสร้างทางขึ้นสะพานและงานอาคารด่านศุลกากรฯ























































แฟ้มภาพวันนี้ เมื่อ 15 สิงหาคม 2553
งานก่อสร้างทางขึ้นสะพานและอาคารด่านศุลกากรฯ






ทางขึ้นสะพาน แยกจากถนนหมายเลข 212  เป็นทางลาดยาวประมาณ 120 เมตร





ไหล่ทางในส่วนของทางลาดขึ้นสะพานปลูกหญ้าทับหน้าไว้

ปลูกหญ้าตลอดไหล่ถนนทางลาดขึ้นสะพาน

ด้านหลังบริเวณทางขึ้นสะพาน

ไม่เท่าไหร่  แตกร้าวแล้ว

ถนนด้านหลังบริเวณทางขึ้นสะพาน

บริเวณด่านศุลกากร  ยกระดับสูงจากถนนด้านหลังพอสมควร

มีร่องระบายน้ำด้วย

พื้นที่โดยรอบอาณาบริเวณของทางขึ้นสะพานและด่านศุลกากรญแห่งนี้
จะไม่ได้อานิสงค์อะไรจากการอยู่ใกล้สะพานฯนี้เลย  

มองเห็นอาคารด่านศุลกากรแต่ไกล









อาคารเจ้าปัญหา อันเกิดเป็น " Design controversial "
เมื่อพบว่าได้นำเอา  องค์พระธาตุพนมมาตกแต่งเป็น " ปลียอด " หลังคา
ซึ่ง สถาปนิกผู้ออกแบบ  ได้ให้ความสำคัญของพระธาตุพนมเป็นเพียงแค่ ตราสัญญลักษณ์ของจังหวัดนครพนม  
และถือเป็นการแสดงออกถึงความเคารพยกย่องเชิดชูไว้สูงสุด  ถือว่าเป็นสิ่งมงคลกับด่านพรมแดนและเป็นขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ปฎิบัติหน้าที่  ทำนองเดียวกับเสาเชิงสะพาน  เปรียบเสมือนประตูเมืองในอดีตที่ต้องการบอกกับผู้มาเยือน
สถาปนิก ผู้นี้เข้าใจภาษาไทย ถูกต้องหรือเปล่า
ยกย่อง  ความหมายคือ  เชิดชู
และ เชิดชู  ความหมายก็คือ  ยกย่อง , ชมเชย
พระธาตุพนม เป็นสิ่งเคารพสูงสุด อันควรแก่การกราบไหว้สักการะ ไม่ใช่เพื่อการยกย่องชมเชย



เจตนาการนำสิ่งเคารพ  มาใช้ประกอบตกแต่งในงานสถาปัตยกรรม  เพื่อความสวยงาม  มากกว่าการเคารพบูชา เช่น การนำพระธาตุพนมมาสถิตที่ยอดหลังคาอาคารด่านศุลกากรฯแห่งนี้  ถือเป็นการไม่เหมาะสม ไม่บังควร
มันเป็นเรื่องเสียสติสิ้นดี  ถ้าจะมีผู้คิดเอา  พระปรางค์วัดอรุณ  พระธาตุดอยสุเทพ  พระบรมธาตุไชยยา พุทธสถานอื่นๆ หรือ เจ้าแม่กวนอิม มาประดับบนยอดหลังคา ของศาลากลางจังหวัด ศาลจังหวัด สนามบิน ท่าเรือ หรือ คฤหาสน์มหาเศรษฐี
อีกทั้งการออกแบบหลังคา  ให้มีลักษณะเป็น " เรือนยอด " หรือ " กุฎาคาร "  ก็ถือเป็นความรู้เท่าไม่ถึงการในเรื่อง " ฐานันดรศักดิ์ หรือ ฐานานุศักดิ์ " ของสถาปัตยกรรมไทย ที่มีระเบียบแบบแผนและรูปแบบชัดเจน
ในเรื่องนี้  ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องเหมาะสม  ก็ต้องเรียกร้องให้สมาคมสถาปนิกสยามออกมาดูแลต่อไป


















พวกเราชาวนครพนม  ต้องออกมาจับตาดูว่า  กรมทางหลวงเขาจะจัดการยังไงต่อไป















ดูไกลๆเหมือนเป็นอาคารเล็กๆ  แต่เมื่อได้เข้าไปอยู่ภายในอาคารแล้วจะรู้สึก ถึงความใหญ่โตมาก

บริเวณนี้ยังไม่ก้าวหน้าเท่าไหร่



ถ้าโครงการแล้วเสร็จ  ผู้ที่จะเดินทางออกไปเที่ยวเมืองลาว ก็จะเห็นภาพนี้เสมอๆ
ก่อนจะออกนอกราชอาณาจักรไทย

แล้วพบกันใหม่อีก  ในต้นปีหน้านะครับ  สวัสดี



2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ทราบว่า หลังจากสะพานเส็รจ ชาวนครพนมจะได้อะไร ควรจะปรับตัวอย่างไร ให้ได้ประโยชน์กับชาวนครพนมเอง ใครมีข้อแนะนำ ก็ช่วยทีครับ ท่านผู้รู้

    แต่สำหรับผมแล้ว ชาวนครพนมจะเลิกจนเสียที เมื่อมีสะพานเกิดขึ้น นั่นหมายความว่า เมืองเราไม่ตันอีกต่อไป รู้ไหมว่า เส้นทางบ้านเราเป็นประตูสู่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกเชียว เป็นใครไปไม่ได้ นอกจากประเทศจีน ผมได้มีโอกาสสำรวจส้นทางนี้แล้ว ไม่อยากจะบรรยาย จริงๆนะ เพราะ มันต้องบรรยายแบบโอเวอร์ เลยเชียว สวยมากครับ สวยจริงจริง สำหรับมนุษย์ป่าคอนกรีตแบบผม ชอบมากๆสำหรับทิวทัศน์ ฟากฝั่งลาว ไปสู่ประเทศเวียตนาม ตลอดสองข้างทางรายล้อมไปด้วยภูเขาที่มีป่าไม้ปกคลุม สีเขียวชะอุ่ม อากาศเย็นสบาย อย่างที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน สวยจริง ขอบอก เลยไหลไปโน่นเลย
    เรามาเข้าเรื่องเดิมกันดีกว่า สิ่งแรกที่ชาวนครพนมได้ คือ รายได้จากการท่องเที่ยว โดยจัดทัวร์ท่องเที่ยวธรรมชาติ ณ.ฝั่งลาว ท่าแขก ไปดูนะครับ แล้วจะรู้ว่า ควรจะทำอย่างไร
    สิ่งที่สอง คือ การต้อนรับผู้มาเยื่อนด้วยอาหาร แบบ ลาวๆ คืออาหารพื้นบ้านนั่นเอง หากินไม่ได้หรอกครับ แต่อย่าเลือกประเภทที่ พิศดาลมากนัก ร้านออกหรูๆ ก็ได้ หรือแบบชาวบ้านชาวบ้านก็ได้ ได้ฟิวส์ครับ
    สิ่งที่สามคือ คุณทำธุรกิจอะไรอยู่ ก็พัฒนาปรับปรุง ขยายงานมากขึ้น เรียกลูก เรียกหลานกลับมา รับช่วง คนเหล่านี้ได้เล่าเรียนมา มันรู้ว่าจะคชต้องขยายอย่างไร (โทษทีต้องเรียกมัน เพราะเด็กบางคน เผาผลาญเงินพ่อแม่อย่างเดียว)กลับมารักษาพื้นที่ของเราชาวนครพนม อย่าให้คนอื่น (ตจว)มาครอบครอง ครอบงำบ้านเมืองของเราได้ อย่าคิดว่า สะพานขึ้นแล้วก็เหมือนมุดาหาร เหมือนหนองคาย ขอโทษ ต่างกันเยอะครับ เราดีกว่าเยอะครับ ดูจากพื้นที่ก่อสร้าง ดูจากแปลน ของด่าน และที่สำคัญจะบอกอะไรให้อย่างครับ ที่สะพานมุกและหนองคาย คนที่มีเงินรวยๆนั้น เค้าเป็นคนจังหวัดใกล้เคียงทั้งนั้น แต่คนหนองคายมุกก็จนเหมือนเดิม เพราะไร มัวแต่คิดว่า ไม่มีอะ ไม่มีไร แล้วก็ชะเง้อมองดูเค้า หัวเราะเค้า คอยมองดูเค้าว่า เดี๋ยวก็เจ้ง แต่เดี๋ยวนี้เป็นไง เค้าครอบ ครอบงำกิจการหลักๆ พื้นฐานของการค้าทั้งนั้น แล้วมานั่งนึกว่า รู้งี้กูทำก่อนซะดีกว่า อยากให้คนนคร เปลี่ยนความคิดซะ วิ่งไปดู มองหา เงินที่กำลังจะตกหล่น แถวสะพาน มีแน่ครับ ถ้าอยู่บ้านเฉยๆ รอเช้าไปกินก๋วยเตี๋ยว เย็นๆ ไปกินบุฟเฟ่ กินเหล้าหน้าบ้าน เลิกซะเถอะครับ ไม่เบื่อมั่งรึไง ไปหาอะไรที่มันเปนประโยชน์มากขึ้นกับตัวเอง ครอบครัว และสังคมส่วนรวมของคนนครพนม
    ผมบอกแล้วว่า เส้นนี้สามารถวิ่งไปประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลกขณะนี้ ถ้าขีนทำตัวเหมือนเดิม แล้วจะเสียใจภายหลังครับ ผมจะบอกให้ ยิ่งออกไปดูตรงสะพานเท่าไหร่ ไอเดียคุณก็ยิ่งมากเท่านั้น อย๋า อย่า อย่าให้คนนอกพื้นที่มาครอบงำ

    ยังมีอีกเยอะครับ อีกเยอะ ที่เรายังสร้างมันขึ้นมาได้

    สำหรับตัวผมเอง แน่นอนครับ ผมมีแผนการอยู่แล้วครับ แต่คงไม่บอกที่นี่หรอกครับ ผมเตรียมไว้หมดแล้ว และกำลังดำเนินการอยู่ ไม่รอให้สะพานขึ้น ผมก็ลุยแล้วครับ
    พี่น้องชาวนครพนม ตื่นเถิด ตื่นๆ

    สำหรับงวดนี้ขอแค่นี้ก่อน เอาไว้มีเวลาจะมาเล่าให้ฟังอีก

    Jorn bkk
    jmacro40@hotmail.com

    ขอขอบคุณ ผู้ตั้ง Blgspot ที่มีความห่วงใยเราชาวนครพนม และได้เปิดพื้นที่ขึ้นมาเพื่อ จะได้ช่วยกันเป็นหูเป็นตาให้กับชาวนครพนมผู้หลับไหลมาเป็นระยะเวลาอันบาวนาน ได้ต่ืนๆๆๆ ขึ้นมาสร้างโลกของนครพนมให้ศีรวิไล ดั่งเมืองที่เค้าพัฒนาแล้ว ผมเชื่อว่าอีกไม่เกิน5 ปี นครพนมจะเ็นเมืองหลวง แห่งภาคอีสาน ครับ

    ตอบลบ
  2. ไม่ทราบว่า หลังจากสะพานเส็รจ ชาวนครพนมจะได้อะไร ควรจะปรับตัวอย่างไร ให้ได้ประโยชน์กับชาวนครพนมเอง ใครมีข้อแนะนำ ก็ช่วยทีครับ ท่านผู้รู้

    แต่สำหรับผมแล้ว ชาวนครพนมจะเลิกจนเสียที เมื่อมีสะพานเกิดขึ้น นั่นหมายความว่า เมืองเราไม่ตันอีกต่อไป รู้ไหมว่า เส้นทางบ้านเราเป็นประตูสู่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกเชียว เป็นใครไปไม่ได้ นอกจากประเทศจีน ผมได้มีโอกาสสำรวจส้นทางนี้แล้ว ไม่อยากจะบรรยาย จริงๆนะ เพราะ มันต้องบรรยายแบบโอเวอร์ เลยเชียว สวยมากครับ สวยจริงจริง สำหรับมนุษย์ป่าคอนกรีตแบบผม ชอบมากๆสำหรับทิวทัศน์ ฟากฝั่งลาว ไปสู่ประเทศเวียตนาม ตลอดสองข้างทางรายล้อมไปด้วยภูเขาที่มีป่าไม้ปกคลุม สีเขียวชะอุ่ม อากาศเย็นสบาย อย่างที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน สวยจริง ขอบอก เลยไหลไปโน่นเลย
    เรามาเข้าเรื่องเดิมกันดีกว่า สิ่งแรกที่ชาวนครพนมได้ คือ รายได้จากการท่องเที่ยว โดยจัดทัวร์ท่องเที่ยวธรรมชาติ ณ.ฝั่งลาว ท่าแขก ไปดูนะครับ แล้วจะรู้ว่า ควรจะทำอย่างไร
    สิ่งที่สอง คือ การต้อนรับผู้มาเยื่อนด้วยอาหาร แบบ ลาวๆ คืออาหารพื้นบ้านนั่นเอง หากินไม่ได้หรอกครับ แต่อย่าเลือกประเภทที่ พิศดาลมากนัก ร้านออกหรูๆ ก็ได้ หรือแบบชาวบ้านชาวบ้านก็ได้ ได้ฟิวส์ครับ
    สิ่งที่สามคือ คุณทำธุรกิจอะไรอยู่ ก็พัฒนาปรับปรุง ขยายงานมากขึ้น เรียกลูก เรียกหลานกลับมา รับช่วง คนเหล่านี้ได้เล่าเรียนมา มันรู้ว่าจะคชต้องขยายอย่างไร (โทษทีต้องเรียกมัน เพราะเด็กบางคน เผาผลาญเงินพ่อแม่อย่างเดียว)กลับมารักษาพื้นที่ของเราชาวนครพนม อย่าให้คนอื่น (ตจว)มาครอบครอง ครอบงำบ้านเมืองของเราได้ อย่าคิดว่า สะพานขึ้นแล้วก็เหมือนมุดาหาร เหมือนหนองคาย ขอโทษ ต่างกันเยอะครับ เราดีกว่าเยอะครับ ดูจากพื้นที่ก่อสร้าง ดูจากแปลน ของด่าน และที่สำคัญจะบอกอะไรให้อย่างครับ ที่สะพานมุกและหนองคาย คนที่มีเงินรวยๆนั้น เค้าเป็นคนจังหวัดใกล้เคียงทั้งนั้น แต่คนหนองคายมุกก็จนเหมือนเดิม เพราะไร มัวแต่คิดว่า ไม่มีอะ ไม่มีไร แล้วก็ชะเง้อมองดูเค้า หัวเราะเค้า คอยมองดูเค้าว่า เดี๋ยวก็เจ้ง แต่เดี๋ยวนี้เป็นไง เค้าครอบ ครอบงำกิจการหลักๆ พื้นฐานของการค้าทั้งนั้น แล้วมานั่งนึกว่า รู้งี้กูทำก่อนซะดีกว่า อยากให้คนนคร เปลี่ยนความคิดซะ วิ่งไปดู มองหา เงินที่กำลังจะตกหล่น แถวสะพาน มีแน่ครับ ถ้าอยู่บ้านเฉยๆ รอเช้าไปกินก๋วยเตี๋ยว เย็นๆ ไปกินบุฟเฟ่ กินเหล้าหน้าบ้าน เลิกซะเถอะครับ ไม่เบื่อมั่งรึไง ไปหาอะไรที่มันเปนประโยชน์มากขึ้นกับตัวเอง ครอบครัว และสังคมส่วนรวมของคนนครพนม
    ผมบอกแล้วว่า เส้นนี้สามารถวิ่งไปประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลกขณะนี้ ถ้าขีนทำตัวเหมือนเดิม แล้วจะเสียใจภายหลังครับ ผมจะบอกให้ ยิ่งออกไปดูตรงสะพานเท่าไหร่ ไอเดียคุณก็ยิ่งมากเท่านั้น อย๋า อย่า อย่าให้คนนอกพื้นที่มาครอบงำ

    ยังมีอีกเยอะครับ อีกเยอะ ที่เรายังสร้างมันขึ้นมาได้

    สำหรับตัวผมเอง แน่นอนครับ ผมมีแผนการอยู่แล้วครับ แต่คงไม่บอกที่นี่หรอกครับ ผมเตรียมไว้หมดแล้ว และกำลังดำเนินการอยู่ ไม่รอให้สะพานขึ้น ผมก็ลุยแล้วครับ
    พี่น้องชาวนครพนม ตื่นเถิด ตื่นๆ

    สำหรับงวดนี้ขอแค่นี้ก่อน เอาไว้มีเวลาจะมาเล่าให้ฟังอีก

    Jorn bkk
    jmacro40@hotmail.com

    ขอขอบคุณ ผู้ตั้ง Blgspot ที่มีความห่วงใยเราชาวนครพนม และได้เปิดพื้นที่ขึ้นมาเพื่อ จะได้ช่วยกันเป็นหูเป็นตาให้กับชาวนครพนมผู้หลับไหลมาเป็นระยะเวลาอันบาวนาน ได้ต่ืนๆๆๆ ขึ้นมาสร้างโลกของนครพนมให้ศีรวิไล ดั่งเมืองที่เค้าพัฒนาแล้ว ผมเชื่อว่าอีกไม่เกิน5 ปี นครพนมจะเ็นเมืองหลวง แห่งภาคอีสาน ครับ

    ตอบลบ

ความเห็นของคุณกับบทความนี้