วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

ศาลากลางจังหวัดนครพนม ( หลังเก่า )


อาคารแห่งนี้เคยได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประเภทอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี พ.ศ 2540 จากสมาคมสถาปนิกสยามฯ
วันนี้ได้ปรับปรุงเป็นหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนารถ
รูปแบบของอาคารนี้ใช้ตามแบบแปลนของศาลากลางจังหวัดเชียงราย ( อาคารเดิม ) ที่ออกแบบก่อสร้างเมื่อปีพ.ศ 2443 โดยนายแพทย์ชาวอเมริกัน ในนามคณะมิสชั่นนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน เป็นสถาปัตยกรรมรูปแบบตะวันตกอย่างที่เรียกว่า โคโลเนียล( อาณานิคม )  ตามความนิยมในยุคที่มีการล่าอาณานิคมในทวีปเอเชียอย่างแพร่หลายของชาติตะวันตกหลายประเทศในเวลานั้น ดังนั้นอาคารศาลากลางที่เชียงราย ก็น่าจะอนุมาณให้เรียกรูปแบบของงานสถาปัตยกรรมว่าเป็นแบบ อเมริกันโคโลเนียล ก็น่าจะได้  แต่ศาลากลางที่นครพนมนี้จะต่างจากที่เชียงรายตรงที่เพิ่มช่องหน้าต่างเล็กๆ 3 ช่องขึ้นที่หลังคาทั้งด้านหน้าและด้านหลังให้มีความสง่าโดดเด่นยิ่งขึ้น ตามกระแสวัฒนธรรมของฝรั่งเศสทีกำลังหลั่งไหลอยู่ในประเทศแถบอินโดจีนที่ฝรั่งเศสเป็นเจ้าปกครองอาณานิคมอยู่  รูปแบบของอาคารที่นี่ก็น่าจะพูดได้ว่าเป็นแบบ เฟร็นซ์โคโลเนียล หรือ อาณานิคมฝรั่งเศศ
ตามประวัติระบุว่า  เริ่มการก่อสร้างในปีพ.ศ 2458 สมัยที่พระยาพนมนครานุรักษ์ ( อุ้ย นาครทรรพ ) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด มาสำเร็จในปี พ.ศ 2462 มีบันทึกว่าในระหว่างสงครามอินโดจีนช่วงที่มีเรือบินทิ้งระเบิดของฝรั่งเศสอยู่หลายครั้งก็ไม่ได้รับความเสียหาย แต่มาโดนเอาในช่วงที่มีการยิงปืนใหญ่มาจากเมืองท่าแขกทำให้ผนังอาคารด้านหน้ามีรูโหว่และรอยร้าวบ้าง ในเวลาต่อมาที่ใช้งานก็มีการปรับปรุงซ่อมแซมอยู่หลายครั้ง จนในปีพ.ศ 2519 กรมศิลปากรก็ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และเมื่อแผนการก่อสร้างศาลากลางหลังใหม่มาทดแทนหลังเก่านี้แล้วเสร็จ ในปีพ.ศ 2523 ศาลากลางแห่งนี้ก็ต้องหยุดการใช้งาน ก็นับเป็นเวลากว่า 60 ปีที่อาคารแห่งนี้ได้ถูกใช้เป็นศูนย์กลางการบริหารราชการจังหวัดนครพนม กระทั่งในปี พ.ศ 2536 กรมศิลปากรก็ได้ปรับปรุงซ่อมแซมครั้งใหญ่อีกครั้งและใช้เป็นที่ทำการหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ  สังกัดหอสมุดแห่งชาติ  กรมศิลปากร นับแต่นั้นมา
  การปรับปรุงของกรมศิลปากร ก็ช่วยให้อาคารเก่าแก่แห่งนี้กลับมีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่ง
หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ นครพนม
     ด้านหลังของอาคารร่มรื่นได้ร่มเงาจากต้นไม้ต้นใหญ่ๆที่มีอายุไม่น้อยกว่าตัวอาคาร




1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ26 กรกฎาคม 2555 เวลา 14:25

    ที่ท่านบอกว่า ศาลากลางที่นครพนมนี้จะต่างจากที่เชียงรายตรงที่เพิ่มช่องหน้าต่างเล็กๆ 3 ช่องขึ้นที่หลังคาทั้งด้านหน้าและด้านหลังให้มีความสง่าโดดเด่นยิ่งขึ้น นั้นไม่ใช่นะคับเพราะเมื่อก่อนที่เชียงรายก้อมีช่องหน้าต่างสามช่องเช่นกันแต่มาทำการบูรณะเปลี่ยนแปลงในภายหลังคับ

    ตอบลบ

ความเห็นของคุณกับบทความนี้