วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

จวนข้าหลวง หรือ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม หลังเก่า


 จวน หรือ ที่อยู่ของเจ้าเมือง ( ข้าหลวง ), บ้านที่ทางราชการจัดให้เป็นที่อยู่ของผู้ว่าราชการจังหวัด                         
 ในสมัยก่อนชาวเมืองมักนิยมเรียกว่า จวนข้าหลวง หรือ ทีพักของข้าหลวง ผู้เป็นเจ้าเมือง
ปกครองเมืองต่างพระเนตรพระกรรณ
 จวนเก่า " ตั้งอยู่บนถนนสุนทรวิจิตร หนึ่งของถนนที่สวยที่สุดของประเทศ




ป้ายใหม่แต่ตึกเก่า
ประตูทางเข้า
อาณาบริเวณร่มรื่นโอ่อ่าสวยงามสมกับเป็นที่พักของเจ้าเมือง
ตามประวัติ เริ่มสร้างพร้อมกันกับศาลากลาง ราวปี พ.ศ 2458
ตัวอาคารยังอยู่ในสภาพดี ถึงแม้จะมีอายุกว่า 90 ปีแล้ว
เน้นทางเข้าสำคัญด้วยขอบประตูและหน้าต่างเป็นรูปโค้ง
ทางเข้าอาคารด้านหน้า อยู่ ในทิศตะวันออกหันหน้ารับวิวแม่น้ำโขง
ทางเข้าสำคัญออกแบบอย่างสมมาตร โดยกำหนดให้มีหน้าต่างอยู่สองข้างเท่ากัน

รูปแบบของอาคารเป็นแบบที่เรียกว่า อาณานิคมฝรั่งเศส ( เฟร็นซ์โคโลเนียล )
ช่องเจาะประตูหน้าต่างบนยอดมีการใช้โค้งครึ่งวงกลมตามสมัยนิยม
ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบอาณานิคมฝรั่งเศสก็คือ ระเบียงและหน้าต่างที่สูงจากระดับพื้น

พื้นที่ของจวนกว้างขวางมาก

สระน้ำที่ด้านหลัง ในอดีตคงจะมีไว้เพื่อการใช้น้ำในจวน
ระเบียงด้านทิศใต้ที่ใหญ่มาก ห้องชั้นบนเคยเป็นที่ประทับแรม เมื่อปีพ.ศ 2498


ระเบียงด้านทิศเหนือ ด้านหลังขวามือจะเห็นเรือนครัวและบ้านคนรับใช้
การใช้กระจกในช่องหน้าต่าง ที่เห็นแล้วรู้สึกขาดความขลังไปบ้าง
บริเวณโถงทางเข้าใหญ่ด้านหน้า
มุมซ้ายของโถงทางเข้าใหญ่
มุมขวาของโถงทางเข้า มีโต๊ะให้ลงนาม


บันใดใหญ่อยู่ทางขวามือ ปัจจุบันงดใช้ ให้ใช้บันใดเล็กที่ด้านหลังเท่านั้น
บันใดนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยใช้เป็นทางพระราชดำเนิน เมื่อคราวประทับแรมในปี พ.ศ 2498
โถงทางเข้าด้านหน้า

ภายในห้องนิทรรศการชั้นล่าง
แต่ละห้องมีภาพเก่าๆที่หาชมได้ยากมาจัดแสดง
ทางเข้าด้านข้าง ( ไม่ได้ใช้แล้ว )
ตัวอาคารด้านทิศใต้
ด้านหลังของอาคาร จะเห็นทางเข้าด้านหลัง
อาคารด้านทิศเหนือ ขวามือจะเป็นเรือนครัวของเจ้าเมือง
เรือนครัว ส่วนขอบปูนด้านหน้าเป็นบ่อทิ้งขยะ
บ่อขยะนี้ใช้เผาขยะไปด้วย
ภายในห้องครัวของเจ้าเมือง
ระเบียงด้านหน้าห้องครัว
พื้นที่เปิดโล่งเชื่อมตัวอาคารใหญ่ กับเรือนพักคนรับใช้และเรือนครัว



การออกแบบวางผังทำได้ลงตัว สวยงาม

บรรยากาศเรียบง่าย
มุมมองจากเรือนครัวไปยังตึกใหญ่
ประตูทางเข้าด้านหลัง

โถงทางเข้าด้านหลัง มีบันใดที่ใช้งานได้แห่งเดียว
ทางเข้าห้องโถงกลาง
ประตูทางเข้าห้องโถงกลาง
ลวดลายกระเบื้องโบราณ
โต๊ะวางกรอบรูปของอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดที่ห้องโถงกลาง
โถงกลางชั้นล่างกับเรื่องราวของผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม
ห้องโถงด้านหน้า แสดงรูปภาพของอดีตผู้ว่าราชการฯ คนแรก
พระยาพนมนครานุรักษ์ ( อุ้ย นาครทรรพ )

ตู้เก็บของและตู้กระจกฝีมือช่างสมัยก่อน เรียบง่ายแต่ได้รสนิยม
บันใดเล็กขึ้นชั้นบน อยู่ที่โถงทางเข้าด้านหลัง

บันใดออกแบบดีมาก ใช้พื้นที่น้อยแต่ก็ใช้งานสะดวก
โถงบันใดเล็กชั้นบน  ห้องที่เห็นข้างหน้านี้เคยจัดเป็นที่ประทับแรม
โถงบันใดเล็กชั้นบน
มุมสวยอีกมุมหนึ่งจากข้างบน






  

ทางเข้าโถงกลางชั้นบน

ส่วนที่เคยจัดเป็นที่ประทับ

โถงบันใดเล็ก อยู่ที่ด้านหลัง
ทางเข้าโถงกลางซ้ายมือ เป็นห้องแสดงนิทรรศการ

พระบรมฉายาทิศลักษณ์ที่โถงกลาง ด้านซ้ายมือเป็นทางเข้าห้องประทับ
ป้ายบอก ห้องประทับ

ภายในห้องประทับ เมื่อ ปี พ.ศ 2498

ภายในห้องประทับ

ภายในห้องประทับ

ห้องโถงด้านทิศเหนือ ใช้จัดนิทรรศการ
โถงบันใดใหญ่ชั้นบน จะเห็นหน้าต่างแบบฝรั่งเศส
มองเห็นวิวแม่น้ำโขงจากโถงบันใดใหญ่
ม้านั่ง 2 ตัวที่ด้านข้างเรือนครัว เป็นมุมที่กิ๊บเก๋มาก


1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ2 ตุลาคม 2554 เวลา 09:16

    อยากให้ทางจังหวัด นำเรื่องราวของเจ้าเมืองนครพนมแท้ๆ ออกมาเปิดเผย เครื่องยศเจ้าเมืองอยู่ไหน ราชวงศ์เมืองนครพนมมีภาพถ่ายเหลืออยู่หรือไม่ ไม่อยากให้แค่นำเสนอเรื่องราวของข้าราชการเมืองกรุงเท่านั้น
    ทำคล้ายๆ ของหอแก้วอะนะ ที่มีเครื่องของโบราณล้ำค่ามานำเสนอ

    ตอบลบ

ความเห็นของคุณกับบทความนี้